จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สารสกัดจากถั่วเหลือง
Tags: ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สารสกัดจากถั่วเหลือง, ขายสารสกัดถั่วเหลือง, สารสกัดจากถั่วเหลือง, ถั่วเหลือง, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่วเหลือง
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สารสกัดจากถั่วเหลือง
ช่วยเพิ่มฮอร์โมนำเอสโตเจนจากธรรมชาติ สิ่งที่ผู้หญิงขาดไม่ได้
ส่วนประกอบ
1. สารสกัดจากจมูกถั่วเหลือง (soybean Extracted) 400 มิลลิกรัม
แคปซูล ละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 แคปซูล หลังอาหารเย็น
สำหรับผู้ที่หมดประจำเดือน ทานวันละ 4 แคปซูล หลังอาหารกลางวัน และเย็น ครั้งละ 2 เม็ด
วัยทอง (Menopause) คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดยรังไข่หยุดการผลิตไข่ ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 45-55 ปี การที่รังไข่หยุดทำงานทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่เรียกว่า "เอสโตรเจน" ได้น้อยลง ซึ่งส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยที่อาการไม่พึงประสงค์ช่วงวัยทองอาจหายไปเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชรา หรืออาจคงอยู่ไปตลอดจนสิ้นอายุขัยก็ได้
"วัยใกล้หมดประจำเดือน"
ข้อมูลจากเว็บไซต์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สัญญาณที่บ่งบอกว่าผู้หญิงกำลังย่างเข้าสู่วัยทองนั้น อาจจะแสดงอาการล่วงหน้าประมาณ 3-4 ปี คือก่อนที่รังไข่จะหยุดทำงาน และหยุดผลิตฮอร์โมน นั่นคือ ประจำเดือนจะเริ่มมาผิดปกติ เช่น จะมาเดือนละ 2-3 ครั้ง หรือมาบ้างไม่มาบ้าง ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ารังไข่ทำงานน้อยลง แต่หากประจำเดือนขาดหายไปนาน 1 ปีเต็ม ก็แสดงว่ารังไข่ได้หยุดทำงานแล้ว และถือว่าได้เข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์ โดยเฉลี่ยผู้หญิงไทยจะหมดประจำเดือน เมื่ออายุประมาณ 48-50 ปี
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางร่างกายของผู้หญิงทำให้ภาวะหมดประจำเดือนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยผู้หญิงประมาณ 15-20% จะไม่มีอาการไม่พึงประสงค์ใด ๆ นอกจากประจำเดือนหมดไปเฉย ๆ
อาการที่คนวัยทองพบบ่อย ได้แก่
• ร้อนวูบวาบ หนาว ๆ ร้อน ๆ
• ชาตามปลายมือ ปลายเท้า
• หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย ใจน้อย ซึมเศร้า
• ช่องคลอดแห้ง แสบ บางรายมีอารมณ์ทางเพศลดลง
• ปัสสาวะบ่อย และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
• ผิวหนังแห้ง หนังศีรษะบาง ผมร่วง
• มีปัญหาเรื่องการนอน นอนน้อย นอนไม่หลับ
• อ้วนขึ้น เพราะระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้น้อยลง
• ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนไปนานแล้ว มักพบปัญหากระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมองเสื่อม
คำแนะนำสำหรับสตรีวัยทอง
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำการปฏิบัติตนสำหรับสตรีวัยหมดประจําเดือน เช่น
• หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะช่วยลดอาการร้อนวูบวาบได้
• ออกกําลังกายเป็นประจำ จะช่วยลดปัญหานอนไม่หลับ ทําให้อารมณ์ดีขึ้น อีกทั้งยังทําให้กระดูก และสุขภาพแข็งแรงขึ้น
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ปลา ผัก และผลไม้ เพื่อปรับฮอร์โมนให้คงที่ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และควรเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนจากธรรมชาติด้วยการรับประทานอาหารจําพวกถั่วเหลือง หรือพืชผักใบเขียว เพื่อช่วยลดอาการหงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวน
การรักษา
หากมีอาการเพียงเล็กน้อยก็มักจะหายไปเองตามธรรมชาติ โดยให้รักษาไปตามอาการ แต่หากอาการรุนแรงโดยเฉพาะอาการร้อนวูบวาบ มีเหงื่อออกมาก ก็ควรได้รับฮอร์โมนทดแทนเพื่อลด
อาการ
อาการ
อย่างไรก็ตาม อาการของสตรีวัยหมดประจําเดือนไม่ใช่อาการร้ายแรง และไม่ควรวิตกกังวลมากจนเกินไป แต่สิ่งที่ผู้หญิงวัยนี้ควรหมั่นสังเกต คือ หากว่ามีเลือดออกจากช่องคลอดกะปริบกะปรอย หรือออกนานกว่าปกติควรไปพบแพทย์
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
1. วัยหมดประจำเดือน คืออะไร
วัยที่มีการทำงานของรังไข่ลดลงบางคนประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมออาจจะมาถี่ขึ้นในช่วงแรก และค่อยๆ ห่างออกมาจนหมดไปในที่สุด โดยต้องมีประวัติขาดประจำเดือนเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน โดยที่ไม่ได้มีสาเหตุจากความผิดปกติอื่นๆ ซึ่งมักเกิดในช่วงอายุ 47-50 ปี
2. ทำไมเรียกวัย 40+ ว่า "วัยทอง"
เมื่อเริ่มวัย 40 ปีขึ้นไป ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีหน้าที่การงานที่มั่นคง รวมถึงมีครอบครัวและสังคมที่ดี จึงถือเป็นวัยแห่งความสำเร็จของชีวิต ดังนั้นจึงเป็นที่มาที่คนส่วนใหญ่มักเรียกวัยนี้ว่า "วัยทอง"
3. อาการวัยทอง เป็นอย่างไร
ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือขาดประจำเดือนร่วมกับมีอาการของการขาดฮอร์โมนเพศ เช่น ร้อนวูบวาบ, หงุดหงิดง่าย, นอนไม่หลับ, ปวดเมื่อยตามตัว, เหงื่อออกกลางคืน หรือมีภาวะช่องคลอดแห้ง เป็นต้น
4. แล้วเป็นไปได้ไหมที่จะเข้าวัยทอง ตั้งแต่อายุยังน้อย
สามารถพบได้โดยผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการขาดประจำเดือน หรือมีอาการของการขาดฮอร์โมนเพศ/อาการวัยทองดังที่ได้กล่าวไปแล้ว หรือในกรณีที่การผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ขณะอายุน้อย (น้อยกว่า 45 ปี) ก็ทำให้เข้าวัยทองฉับพลัน นอกจากนี้สตรีที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาจากการรักษามะเร็งก็ทำให้เข้าวัยทองได้เช่นกัน นอกเหนือจากอาการวัยทอง ผู้ป่วยที่เข้าสู่วัยทองตั้งแต่อายุยังน้อยยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด และโรคกระดูกพรุน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องในระยะยาว
5. แต่ละคนจะมีอาการวัยทองคล้ายกันไหม
อาการที่พบบ่อยที่สุดของวัยทอง คือ ประจำเดือนผิดปกติและอาการร้อนวูบวาบ ซึ่งความรุงแรงของอาการดังกล่าวแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ, เชื้อชาติ, ภูมิอากาศ, น้ำหนักตัว, สภาพแวดล้อม เป็นต้น
6. เมื่อเข้าวัยทองยังมีลูกได้ไหม
ผู้หญิงเมื่อายุมากกว่า 35 ปี ปริมาณไข่และคุณภาพของไข่จะเสื่อมถอยลงอย่างมีนัยสำคัญทำให้มีบุตรยากมากขึ้น เมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือนรังไข่หยุดการทำงานไปแล้วหากต้องการตั้งครรภ์ต้องใช้เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ โดยอาศัยไข่บริจาคเพื่อทำเด็กหลอดแก้ว แต่วิธีดังกล่าวเหมาะสำหรับผู้หญิงที่เข้าวัยทองตั้งแต่อายุน้อยเท่านั้นค่ะ ส่วนผู้หญิงที่เข้าวัยทองตามธรรมชาติไม่ควรตั้งครรภ์แล้วนะคะ เนื่องจากการตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงต่อทั้งมารดาและทารก
7. ฮอร์โมนเพศมากจากไหน
ฮอร์โมนเพศหญิงประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนซึ่งสร้างจากรังไข่ โดยฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเกิดลักษณะต่างๆของเพศหญิง เช่น เสียงแหลม, สะโพกผาย, มีหน้าอก นอกจากนี้ยังควบคุมมดลูก ช่องคลอดและต่อมน้ำนมด้วย ส่วนโปรเจสเตอโรนจะทำงานร่วมกับเอสโตรเจนในการเกิดประจำเดือนและการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์
8. อาการร้อนวูบวาบในวัยทองเป็นอย่างไร
อาการเริ่มด้วยมีความรู้สึกร้อนบริเวณหน้าอกส่วนบน, ใบหน้า และค่อยๆไปทั่วลำตัว อาการเป็นอยู่ 2-4 นาที มักมีเหงื่อออกและใจสั่นร่วมด้วย บางครั้งมีอาการวิตกกังวลตามมามักเป็นหลายครั้งต่อวันและมักเกิดเวลากลางคืน อาการดังกล่าวจะหายได้เองใน 4-5 ปี หลังจากเข้าวัยหมดประจำเดือน
9. มีอาการแสบ เวลามีเพศสัมพันธ์
เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนระดับเอสโตรเจนในร่างกายจะต่ำมาก จึงทำให้เยื่อบุผิวช่องคลอดบางตัวลง มีภาวะช่องคลอดแห้ง นอกจากนี้การสร้างเมือกหล่อลื่นจากช่องคลอดก็ลดน้อยลง ทำให้มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
10. ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่ได้
การขาดเอสโตรเจนส่งผลให้เนื้อเยื่อและเส้นเลือดรอบกระเพาะปัสสาวะฝ่อเหี่ยวทำให้กลั้นปัสสาวะลำบาก เวลาไอ จาม หรือหัวเราะแรงๆ อาจเกิดปัสสาวะเล็ดได้ นอกจากนี้การที่เยื่อบุผิวของทางเดินปัสสาวะะบางลง ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะง่ายขึ้นคนไข้มักมีการปัสสาวะบ่อย หรือมีอาการปัสสาวะแสบขัดได้
1.สารสกัดจากถั่วเหลือง
“ไฟโตเอสโตรเจน” อาหารสําหรับวัยทอง
ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) เป็นสารประกอบที่มีสูตรโครงสร้างคล้าย ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่พบได้ในพืชและเมล็ดธัญพืชมากกว่า 300 ชนิดแต่มีมากที่สุดใน ถั่วเหลือง ไฟโตเอสโตรเจนออกฤทธิ์แบบเอสโตร เจน แต่ได้ในระดับที่ต่ํากว่าฮอร์โมน เอสโตรเจนของคน โดยอยู่ในช่วงระหว่าง 1/500 ถึง 1/1000 เท่าของฤทธิ์ของเอสตรา ไดออล (Estradiol) นอกจากนี้ไฟโตเอสโตรเจนยังสามารถแสดงฤทธิ์แบบยับยั้งฤทธิ์ของ เอสโตรเจนในร่างกายได้ด้วย โดยไฟโตเอสโตรเจนจะแย่งจับกับฮอร์โมนเอสโตรเจนใน ร่างกาย และช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นไฟโตเอสโตรเจนจึงอาจจะลดหรือยับยั้งฤทธิ์ของเอสโตรเจนที่มีต่อเซลล์หรือ เนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อเอสโตรเจน เช่น เนื้อเยื่อเต้านม เป็นต้น ซึ่งทําให้ไฟโตเอสโตร เจนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ เราสามารถแบ่งไฟโตเอสโตรเจน ออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ไอโซฟลาโวน (Isoflavone) คูมิสแตน (Coumestans) และ ลิ กแนน (Lignan) ไฟโตเอสโตรเจนที่พบมากในอาหารของคนคือ ไอโซฟลาโวนและลิ กแนน ไอโซฟลาโวนซึ่งมีฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจนมีในถั่วหลายชนิดโดยเฉพาะในถั่ว เหลืองซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สําคัญของคน ส่วนลิกแนนนั้นพบในธัญพืช ผักและผลไม้ ในถั่วเหลืองมีไอโซฟลาโวนที่สําคัญคือ เดดซีน (Daidzein) และ จีนีสทีน (Genistein) ใน ปัจจุบันการวิจัยมากมายมุ่งเน้นความสนใจมาที่ “ไอโซฟลาโวน”
ประโยชน์ของไฟโตเอสโตรเจน
การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า คนตะวันตกเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนเอเชีย โดยมีทฤษฎีว่า อาหารของคนเอเชีย เช่น คน ญี่ปุ่น คนจีน น่าจะมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนหรือกระบวนการชีวเคมีในเซลล์ของคน โดยมีหลักฐานแสดงว่า สารประกอบไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) มีฤทธิ์ป้องกัน มะเร็งได้ โดยมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศ กระบวนการเมแทบอลิซึม การทํางานของ เอนไซม์ การสร้างโปรตีน การเพิ่มจํานวนและการเปลี่ยนสภาพของเซลล์มะเร็ง และ การเจริญเติบโตของหลอดเลือด ดังนั้น การรับประทานอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนอาจ ช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคบางอย่างได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งของ เนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ และโรคกระดูกพรุน
ถั่วเหลืองกับภาวะหมดประจําเดือน
ผู้หญิงวัยหมดประจําเดือนมักมีอาการร้อนวูบวาบ หงุดหงิด มีอาการทางผิวหนัง และเยื่อบุบริเวณช่องคลอดแห้งและอักเสบ รวมทั้งมีอัตราการเป็นโรคกระดูกพรุน และ อัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดสูงขึ้น การใช้ฮอร์โมนทดแทนแม้จะช่วยลดอาการไม่สุข สบายที่เกิดขึ้นแต่ก็มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม ด้วยเหตุนี้การรับประทานอาหารที่ ทําจากถั่วเหลืองซึ่งมีไอโซฟลาโวนเป็นส่วนประกอบและมีสูตรโครงสร้างคล้ายเอสโตร เจนอย่างสม่ำเสมอ จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้หญิงที่ไม่ต้องการใช้ฮอร์โมน ทดแทน โดยช่วยลดอาการร้อนวูบวาบแล้วยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็ง พึ่งฮอร์โมนรวมทั้งลดระดับไขมันในเลือดได้ มีการศึกษาจํานวนมากที่บ่งชี้ว่าการบริโภค โปรตีนถั่วเหลืองที่มีไอโซฟลาโวนหรือการเสริมไอโซฟลาโวนสามารถเพิ่มความ หนาแน่นของกระดูกและลดอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน
ถั่วเหลืองกับโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีความผิดปกติของกระดูกทั้งในด้านปริมาณและ คุณภาพ ทําให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เกิดกระดูกหักได้ง่ายแม้ได้รับการ กระทบกระทั่งเพียงเล็กน้อย แพทย์ทําการวินิจฉัยได้โดยการวัดความหาแน่นของมวล กระดูก สาเหตุที่พบได้บ่อยและสําคัญมากที่สุดคือ การขาดเอสโตรเจนจาการหมด ประจําเดือน แคลเซียมมีผลต่อมวลกระดูกตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ การเสริม แคลเซียมสามารถทําให้มวลกระดูกสูงขึ้นแม้จะได้รับแคลเซียมจากอาหารเพียงพอตาม ข้อกําหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจําวันแล้ว ผู้หญิงหลังหมดประจําเดือนจะมีการ สูญเสียเนื้อกระดูกประมาณร้อยละ 3-5 ต่อปีในเวลา 3-5 ปี ทําให้มวลกระดูกลดลง ประมาณ 15 % หลังจากนั้นอัตราการสูญเสียเนื้อกระดูกจะลดลงสู่ระดับเดิมคือ ร้อยละ 0.5 – 1 ต่อปีจนเข้าสู่วัยสูงอายุ การเสริมแคลเซียมในช่วงนี้ไม่สามารถขจัดผลของการ ขาดเอสโตรเจนได้ แต่ช่วยลดผลที่เกิดจากการขาดแคลเซียม ผู้หญิงควรได้รับแคลเซียม จากอาหารวันละ 800 – 1200 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ นม ปลาทอด กรอบกินได้ทั้งกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้ เป็นต้น การศึกษาการบริโภคแคลเซียมในผู้ใหญ่ ชาวไทยพบว่ามีปริมาณที่ตํ่ากว่าที่ควรได้รับประจําวันมาก และการเสริมแคลเซียมมีผล ป้องกันการเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรที่ได้รับ แคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ในกรณีที่อาหารอย่างเดียวไม่สามารถให้แคลเซียม เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอาจพิจารณารับประทานยาเม็ดแคลเซียมเสริม นอกจากนี้โปรตีนถั่วเหลืองก็อาจช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ โดยมีรายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนําให้รับประทานผลิตภัณฑ์อาหารที่ทําจากถั่วเหลืองเพื่อให้ ได้รับไอโซฟลาโวนมากกว่าจะรับประทานเป็นเม็ดยา
ถั่วเหลืองกับโรคหัวใจขาดเลือด
โดยทั่วไปหญิงวัยหมดระดูจะมีระดับไขมันในเลือดสูงขึ้นซึ่งเป็นผลจากการลดลง ของระดับเอสโตรเจน ปัจจัยต่อไปนี้ ได้แก่ ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันเลือดสูง การ สูบบุหรี่ เบาหวาน อ้วน การขาดการออกกําลังกาย และดื่มเหล้า ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ สําคัญต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าประชากรที่ รับประทานอาหารที่มีโปรตีนจากพืชสูงจะมีอุบัติการณ์ของการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และภาวะคลอเลสเตอรอลสูงในเลือดต่ำกว่าประชากรที่รับประทานอาหารที่มีโปรตีน จากสัตว์สูง องค์การอาหารและยาของอเมริกา (Food and Drug Administration, FDA ) และสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกา (American Heart Association, AHA)ได้แนะนํา ให้รับประทานโปรตีนจากถั่วเหลือง 25 กรัม ตอ่ วันและให้โปรตีนจากถั่วเหลืองเป็นส่วน หนึ่งของอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคลอเลสเตอรอลต่ำซึ่งอาจจะลดความเสี่ยงของ โรคหัวใจและหลอดเลือด
ถั่วเหลืองกับโรคมะเร็ง
มะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ ซึ่ง เป็นมะเร็งชนิดที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนในร่างกายและโรคหัวใจขาดเลือด มีอุบัติการต่ํากว่า ในเอเชียและยุโรปตะวันออกเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตก ซึ่งเชื่อว่าเนื่องจากคน เอเชียรับประทานอาหารที่มีผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเช่น มากกว่าคนยุโรป จึงมีความ เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งน้อยกว่า
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าอาหารที่ประกอบด้วยสารไอโซฟลาโวซึ่งเป็นไฟ โตเอสโตรเจนชนิดหนึ่งที่มีความสําคัญและมีฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจนนี้มีประโยชน์อย่าง มากต่อคุณสุภาพสตรีทุกท่านโดยเฉพาะสตรีวัยทองที่ต้องรับประทานเพื่อส่งเสริม สุขภาพและป้องกันโรคร้ายแรงต่างๆที่จะเกิดขึ้นก่อนวัยอันควร
ที่มา ผศ.อรพิน ผาสุริย์วงษ์ หรือ รศ.ยุพา คู่คงวิริยพันธุ์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น